พญ.นภาพร ลิมป์ปิยากร

จริงอยู่การที่ยุงหายไปย่อมทำให้โรคที่มาพร้อมยุงลดลง แต่การที่มันหายไปโดยที่มนุษยไม่สามารถหาสาเหตุได้อาจมิใช่เรื่องดี เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
นักวิทยาศาสตร์จากเดนมาร์กและแทนซาเนีย พบว่า ปริมาณยุงแถบแทนซาเนียที่ลดลงไปอย่างรวดเร็วนั้นมิได้เกิดขึ้นจากผลของการป้องกันการแพร่ขยายของยุงแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็น การใช้ยากำจัดแมลง การลดที่กักเก็บน้ำ หรือการกางมุ้ง แต่การลดลงของปริมาณยุงโดยเฉพาะยุงลายที่ก่อให้เกิดมาลาเรียน่าจะเป็นผลมาจากความโกลาหลของอากาศที่แปรปรวนมากกว่าจนทำให้การแพร่พันธุ์และการเจริญเติบโตของยุงเกิดขึ้นไม่ได้ หรือเกิดจากการที่พวกมันป่วยจากไวรัสหรือเชื้อราต่างหาก
ข่าวดีเรื่องการลดลงของยุงจึงมิได้สร้างความยินดีให้กับนักวิทยาศาสตร์ กลับมาพร้อมความกังวล ทั้งนี้เพราะพวกเขาเชื่อว่า เมื่อปริมาณยุงลดลง เด็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในถิ่นที่เคยมีมาลาเรียระบาดก็จะไม่มีโอกาสสัมผัสกับโรคซึ่งย่อมจะทำให้พวกเขาขาดโอกาสที่จะสร้างภูมิคุ้มกันตามไปด้วย ซ้ำร้ายนักวิทยาศาสตร์ก็ขาดโอกาสที่จะทดลองยาใหม่ ๆ ในการป้องกันหรือรักษามาลาเรียตามไปด้วย
ดังน้ั้น หากยุงหันกลับมาแพร่พันธุ์ได้ใหม่อีกครั้งซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดว่าจะเกิดขึ้นแน่ และเชื้อมาลาเรียจากยุงเหล่านี้จะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นด้วย นั่นหมายความว่า เด็ก ๆ ที่ขาดภูมิคุ้มกันเหล่านี้ก็จะเป็นโรคในระดับที่รุนแรงและเป็นวงกว้างมากกว่าที่ผ่านมา ถึงเวลานั้น หายนะย่อมเกิดกับชุมชนบริเวณนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
