German Europe เยอรมันหรือยุโรป

โดย พญ.นภาพร ลิมป์ปิยากร

                ความจริงในปัจจุบันก็คือ ยุโรปได้กลายเป็นเยอรมันไปเสียแล้ว ไม่มีใครตั้งใจจะให้เป็นเช่นนั้น  แต่ในช่วงก่อนที่เงินยูโรอาจจะล่มสลาย เยอรมันได้ถูกผลักดันเข้าไปสู่บทบาทที่มีอำนาจในการตัดสินใจมากที่สุดในยุโรปอย่างไม่ตั้งใจ German Europe หนังสือขนาด 120 หน้าตีพิมพ์ครั้งแรกในเดือนเมษายน 2013 ของ Ulrich Beck ศาสตราจารย์ด้านสังคมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Ludwig-Maximilians ชาวเยอรมันผู้ตั้งทฤษฎี Risk Society และ Rodney Livingston ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย Southampton จะอธิบายว่าปัจจุบันโลกได้เห็นเยอรมันในยุโรปและยุโรปในเยอรมันแล้ว  สถานการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร  ผลลัพธ์จะเป็นเช่นใด  ภัยคุกคามในอนาคตจากสถานการณ์นี้คืออะไร แล้วมันจะดึงดูดอะไรเข้าไปหา และทฤษฎีทางการเมืองการปกครองที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักการเมืองที่มีหน้าที่ดูแลเศรษฐกิจคืออะไร  เมื่อวิกฤตที่เกิดขึ้นนี้มิใช่วิกฤตเศรษฐกิจล้วน ๆ แต่มันเป็นวิกฤตทางสังคมและการเมือง  การวิเคราะห์แต่ด้านเศรษฐกิจจะทำให้การวิเคราะห์นั้นขาดมุมมองทางด้านสังคม  เป็นไปได้หรือไม่ว่าวิกฤตนี้จะนำไปสู่การรวมตัวกันทางการเมืองอย่างสมบูรณ์ในยุโรปทั้งทางด้านภาษี เศรษฐกิจและสังคมและการเมือง […]

Tags: , , , ,

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

The Tragedy of the Euro โศกนาฎกรรมเงินยูโร

โดย พญ.นภาพร ลิมป์ปิยากร

วิกฤตเศรษฐกิจในยุโรปได้สร้างความสั่นสะเทือนให้กับตลาดเงินและรัฐบาลอย่างมาก รายงานประจำเดือนมิถุนายนปี 2010 แสดงให้เห็นว่าระบบธนาคารของยุโรปเกือบล่มสลายไปแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม แม้แต่ฝรั่งเศสประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับสองของยุโรปก็เกือบจะผิดนัดชำระหนี้  หลังการต่อรองกันอย่างหนัก สมาชิกสหภาพยุโรปก็ได้ให้เงินออกมา 750 พันล้านยูโรเพื่อช่วยธนาคารและประเทศที่ประสบปัญหาท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของชาวเยอรมันถึงกว่า 56%  พวกเขาต้องการกลับไปใช้เงินมาร์ก  ชาวเยอรมันเห็นว่าพวกเขาออมเงินและใช้นโยบายการคลังแบบเกินดุลติดต่อกันมาตลอดตั้งแต่เริ่มใช้เงินสกุลยูโร ในขณะที่ประเทศที่เกิดปัญหากลับใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือยไปกับโครงการที่ไม่ได้เรื่อง เช่น  Tourism for all ของกรีซที่ให้เงินสนับสนุนการพักผ่อนและการท่องเที่ยว  กรีซยังให้เงินบำนาญสูงถึง 80% ของค่าจ้างและได้มากถึง 14 เดือนต่อปี ในขณะที่ชาวเยอรมันได้เงินบำนาญเพียงแค่ 46% ของค่าจ้างและปีละ 12 เดือนเท่านั้น  การที่ธนาคารกลางยุโรปเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลได้ลดถอนความเป็นอิสระและความเชื่อมั่นต่อธนาคารกลางยุโรปอย่างมาก และยังเท่ากับเป็นการบีบบังคับให้ชาวเยอรมันช่วยเหลือประเทศอื่นโดยที่พวกเขาไม่ได้สมัครใจ ซ้ำยังไม่เข้าใจด้วยว่าเหตุใดพวกเขาต้องเป็นคนจ่ายและต่อไปต้องจ่ายอย่างไร 

การเกิดขึ้นของโครงการสหภาพยุโรปนี้เป็นผลมาจากความฝันของนักสังคมนิยมที่ต้องการให้มีรัฐบาลกลางยุโรป แต่มันเป็นโครงการที่น่าจะล้มเหลว เพราะมันเป็นโครงการที่เป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการส่วนตัวในการสร้างอำนาจและอิทธิพลของนักการเมืองบางคนเท่านั้น     The Tragedy of the Euro หนังสือขนาด 196 หน้าตีพิมพ์ครั้งแรกในเดือนมีนาคมปี 2011 ของ Phillip Bagus ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Rey Juan Carlos เมืองมาดริด ประเทศสเปนจะ 1. พูดถึงการถือกำเนิดของเงิน ธนาคาร และธนาคารกลาง   2. เป็นเครื่องมือในการทำความเข้าใจกับประวัติศาสตร์ของเงินยูโรและการสร้างสถาบันที่เกี่ยวข้องกับเงินยูโรด้วยวิธีอันแสนวิปลาส   3. แสดงวิธีการเปลี่ยนให้ระบบการเงินของยุโรปกลับมาเป็นปกติได้ต่อไปในอนาคต

[…]

Tags: , , , ,

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

The End of EURO : The Uneasy Future of the European Union ฤาเงินยูโรจะล่มสลาย

โดย พญ.นภาพร ลิมป์ปิยากร 

                ปัจจุบันสถานการณ์ของสหภาพยุโรปเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน แต่นักการเมืองยังคงไม่สามารถตัดสินใจได้ พวกเขามักบ่นว่า ตลาดการเงินไม่เข้าใจสหภาพยุโรป ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ แท้ที่จริงแล้วปัญหาเศรษฐกิจในยุโรปก็เหมือนกับที่อื่น ๆ ทั่วโลกนั่นคือ มาจากความโลภ นักเก็งกำไร และพฤติกรรมความไม่รับผิดชอบของตลาดเงิน  The End of the EURO : The Uneasy Future of the European Union ขนาด 208 หน้าตีพิมพ์เดือนพฤศจิกายน 2011 ของ Johan Van Overtveldt นักเศรษฐศาสตร์และคอลัมนิสต์ของ Wall Street Journal ประจำยุโรป จะพูดถึง 1. ที่มาของการก่อตั้งสหภาพยุโรปและเงินยูโรอย่างคร่าว ๆ  2. ความผิดปกติเชิงโครงสร้างในการรวมตัวกันทางการเงิน 3. ทางเลือกของสมาชิกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยอรมัน […]

Tags: , , , , ,

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

Paradigm Lost : The Euro in Crisis กระบวนทัศน์ที่หายไป

โดย พญ.นภาพร ลิมป์ปิยากร 

                 เมื่อ Lehman ล้มในเดือนกันยายนปี 2008  วิกฤตก็ข้ามฟากมายังยุโรปอย่างรวดเร็ว  แต่ต้นเหตุของการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในยุโรปมิได้เป็นผลมาจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เริ่มจากสหรัฐฯ เท่านั้น  ต้นเหตุที่ก่อให้เกิดวิกฤตในยุโรปยังเริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อสมาชิกที่มีเศรษฐกิจอ่อนแอเข้าร่วมในสหภาพยุโรปแล้ว นั่นคือ 1. ความมั่นใจที่มากขึ้น 2. อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงอย่างรวดเร็ว 3. อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น 4. การส่งออกลดลงอย่างรวดเร็ว 5. อุปสงค์ภายในเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 6. การขาดความสามารถในการแข่งขัน 7. ต้นทุนในการกู้ยืมลดลง 8. วิกฤตเศรษฐกิจปี 2008  ปัญหาหนี้ของสหภาพยุโรปจึงเป็นมากกว่าปัญหาด้านการคลังที่สุรุ่ยสุร่าย  แต่เป็นผลมาจากการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เหมาะสม และการขาดความสามารถในการแข่งขันของประเทศยุโรปใต้ด้วย  Paradigm Lost : The Euro in Crisis หนังสือขนาด 123 หน้าตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2010 ของ Uri Dadush ผู้อำนวยการของ International Economics Program ที่ Carnegie Endowment for International Peace จะพูดถึงสาเหตุที่ก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ผลกระทบต่อประเทศที่กำลังเกิดวิกฤตและสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรป รวมทั้งวิธีแก้ไขปัญหาที่ควรจะเป็น […]

Tags: , , , ,

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS
+(reset)-

Ratings Plugin created by Cheap Web Hosting - Powered by Attache Case and VLC Player Download.